ชามตราไก่กับประเทศไทย


ชามตราไก่ ได้เริ่มทำขึ้นที่ราชเทวีก่อนเมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 (เท่าที่จำได้ราวสมัยรัชกาลที่ 8) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้และขายไม่มากนัก โดยสมัยก่อนคนจีนมีมากชามไก่จึงเป็นที่นิยมสำหรับคนจีนในสมัยนั้น เพราะมีรูปร่างที่เหมาะแก่การใช้ตะเกียบพุ้ย ขณะนั้นผมเป็นคนแรกที่ได้ริเริ่มการทำของขาว คือ บลูแอนด์ไวท์ ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร แจกัน เริ่มทำขึ้นที่โรงงานของผมเองที่ราชเทวี
เริ่มแรกคุณพอ่ ของผมเปน็ ชา่ งวาดลายชามตราไกอ่ ยูที่เมืองจีนแล้วมาอยู่ในประเทศไทย มาเปิดโรงงานที่ราชเทวี สมัยนั้นยังไม่มีใครทำเครื่องเคลือบ ผมได้สั่งนำเข้าดินจากประเทศ
จีนเขา้ มาทำและมีชา่ งทำเซรามิกจากจีนที่หนีสงครามมาอยู่ 3 – 4 คน ขณะนั้นของที่ทำขึ้นจะดีมากเพราะได้ช่างจีนที่มีความชำนาญ ปัจจุบันน่าเสียดายที่ของพวกนี้ถูกเก็บหมดไม่มีใครยอมนำมาแสดง

ชามตราไก่นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางเดิมการทำเซรามิกในจังหวัดได้เริ่มจากการผลิตชามก๋วยเตี๋ยวชามข้าวต้ม ถ้วยใบเล็ก และชามตราไก่ ขายเมื่อ พ.ศ. 2503โดยเผาด้วยฟืน ผลิตภัณฑ์ที่ได้เสียหายมากและคุณภาพไม่สมํ่าเสมอ แต่ก็ขายดีและขายได้มากเนื่องจากมีราคาไม่แพง
มากนักทางโรงงานเสถียรภาพทราบว่าชามตราไก่ขายดีที่สุดในจังหวัดลำปาง (ขณะนั้นผมทำงานอยู่ที่โรงงานเสถียรภาพ) จึงคิดผลิตชามตราไก่ออกมาขาย เนื่องจากชามตราไก่ลำปางจะเขียนเป็นลายไก่สีแดง การทำต้องเผาหลายครั้ง ค่อนข้างยุ่งยาก ก็เลยเปลี่ยนมาผลิตชามไก่เขียวแทน
เพราะว่าเขียนได้เร็วมาก คนหนึ่งจะเขียนได้ประมาณวันละ 700 – 800 ใบ แล้วเผาด้วยเตาอุโมงค์เพียงครั้งเดียว ไม่ต้องเผาถึง 2 ครั้งเหมือนชามตราไก่ ทำให้ตัวเลขการผลิตมีมากและขายดี เป็นผลให้ชามตราไก่ในลำปางแทบจะขายไม่ได้ต้องลดราคาลงมาจากที่มีราคาใบละ 2 บาท ลดลงเหลือใบ
ละ 1 บาท จึงได้หันมาผลิตชามไก่เขียวแทน คนนิยมมากเนื่องจากราคาไม่แพง มีการตัดราคาขายแข่งกันในราคาใบละ 1.50 บาท เหลือเพียงใบละ 1.35 บาท ทำได้อยู่พักใหญ่ความนิยมและความต้องการค่อย ๆ ลดน้อยลงทางเสถียรภาพจึงหันมาทำชามแบบญี่ปุ่นเนื่องจากได้ราคาดีกว่า สูงกว่าและคนเริ่มมีฐานะดีขึ้น ต้องการใช้ของที่ดี ขณะนั้นมีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายบ้างแต่ไม่มาก
นัก ส่วนใหญ่เป็นของญี่ปุ่น สมัยนั้นประเทศไทยมีการห้ามนำเข้าสินค้าเซรามิก ทางเสถียรภาพจึงผลิตออกมาขายมากทำให้กิจการขยายตัวอย่างรวดเร็วในขณะนั้น

อ้างอิงจาก : วารสารเซรามิกส์ ฉบับที่ พฤษภาคม-สิงหาคม 2555

Popular posts from this blog

ความเป็นมาของเซรามิคในประเทศไทย

เตาเผาเซรามิกส์